พันธบัตรรัฐบาล คือ

พันธบัตรรัฐบาล คือ

พันธบัตร (Bond) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร

พันธบัตรที่ไม่ระบุดอกเบี้ย (Zero Coupon Bond) : คือพันธบัตรที่ไม่มีการจ่ายผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยให้กับผู้ถือเป็นงวดๆ หากแต่จะจ่ายในรูปของภารรับซื้อคืนในราคาที่สูงขึ้น จากราคาที่ผู้ออกขายให้ผู้ถือในตอนแรก ณ วันครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรที่ระบุดอกเบี้ย (Coupon Bond) : คือพันธบัตรที่มีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตรจะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตรตามอัตราและ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน
พันธบัตร และรับซื้อพันธบัตรคืนที่ราคาหน้าตั๋วที่วันครบกำหนดอายุไถ่ถอน พันธบัตรที่มีการจ่ายดอกเบี้ยในแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate bond) : คือพันธบัตรที่ลดอัตราเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของผู้ถือพันธบัตรให้ต่ำที่สุด โดยอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกพันธบัตรจะจ่ายให้กับผู้ถือนั้น จะเป็นอัตราที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยของตลาดขณะนั้น พันธบัตรที่สามารถเรียกคืนได้ (Collable bond) : คือ พันธบัตรที่ผู้ออกสามารถขอซื้อคืนตามราคาที่กำหนดไว้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) : ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและบริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Bond) : ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจและบริหารโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หุ้นกู้ (Corporate Bond) : ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยบริษัทเอกชน โดยทั่วไปจะจ่ายดอกเบี้ย 2 งวดต่อปี และไถ่ถอนคืนเมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ตั๋วเงินคลัง (T-Bills) : ตราสารหนี้ระยะสั้นที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งผลตอบแทนของตราสารหนี้ชนิดนี้จะออกมาในรูปแบบ การรับซื้อคืนในราคาที่สูงขึ้นจากราคาที่ผู้ออกขายให้ผู้ถือในตอนแรก

ตลาดแรกหรือตลาดพันธบัตรออกใหม่ (Primary Market) เป็นแหล่งกลางในการเสนอขายและซื้อพันธบัตรที่ออกใหม่ โดยจะเสนอขายให้กับนักลงทุนบางประเภทตลาดรองหรือตลาดค้าพันธบัตร (Secondary Market)เป็นแหล่งกลางในการเสนอขายและซื้อพันธบัตร ที่เคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว ตลาดรองจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น โดยจะมีสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์และนายหน้าค้าหลักทรัพย์เป็นคนกลางในการซื้อขายพันธบัตรระหว่างผู้ลงทุน

ผู้ถือพันธบัตรสามารถขายพันธบัตรได้ทุกเมื่อ ณ ราคาที่ซึ่งจะตกลงระหว่างตัวผู้ถือและผู้ที่จะซื้อต่อจากผู้ถือ โดยสามารถซื้อขายได้ในตลาดรอง

อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกพันธบัตร สัญญาว่าจะจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรเป็นงวดๆตลอดจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรที่มีราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท และกำหนดดอกเบี้ย 10% แสดงว่าผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ย 10 % ของเงินต้น 1,000 บาท นั่นคือ ทุกปีจะได้รับดอกเบี้ย 100 บาท นั่นเอง

ระยะเวลาครบกำหนดที่ผู้ออกพันธบัตรจะไถ่ถอนพันธบัตรคืนหรือจ่ายเงินต้นคืนแก่ผู้ถือพันธบัตร ซึ่งระยะเวลาไถ่ถอนนี้อากมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

เป็นอัตราลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยรับรายงวดและราคาที่ตราไว้เท่ากับราคาตลาด ปัจจุบันของพันธบัตรโดยถือว่าผู้ลงทุนจะถือพันธบัตรไปจนครบกำหนดไถ่ถอนผู้ออกพันธบัตร สามารถทำตามสัญญาในพันธบัตรได้ตามกำหนด และถือว่ามีการนำดอกเบี้ยรับไปลงทุนต่อ

Credit >> http://valueinvestor.orgfree.com


Return On Invested Capital (ROIC)

Return On Invested Capital (ROIC)

ROIC เป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนของ Investors (ทั้งผู้ถือตราสารหนี้และผู้ที่หุ้นสามัญ)

สูตร ROIC = NOPAT/Invested Capital
สาเหตุที่ใช้ NOPAT ไม่ใช้ Net Icome เพราะว่าตัวส่วนเป็น Invested Capital
ซึ่งเป็นเงินลงทุนของผู้ลงทุนทั้งสองกลุ่ม ดังนั้นกำไรที่ใช้ควรเป็นกำไรก่อนที่จะจ่ายดอกเบี้ยออกไป

NOPAT = EBIT*(1-Tax)
Invested Capital หลักๆคิดว่าหาได้ 3 วิธีนะครับ

1.เอา Equity+Debt โดย Debt ในที่นี้ไม่ใช่ Liability นะครับ
(เพราะจะไม่รวม เจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย)
แต่จะหมายถึงเงินที่มาจากผู้ให้กู้ เช่น กู้แบงค์ ออกตราสารหนี้ ออก Note Payable
โดยหากสังเกตุ มันคือ หนี้ที่มีดอกเบี้ย ครับ

2.เอา สินทรัพย์ทั้งหมด- หนี้ระยะสั้นที่ไม่มีดอกเบี้ย
เช่น เจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายครับ

3.เอา Equity+(สินทรัพย์ระยะสั้น-หนี้ระยะสั้นที่ไม่มีดอกเบี้ย)

Credit >> http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rinvestment&month=28-05-2011&group=5&gblog=8