วิธีคัดเลือกหุ้นเพื่อลงทุนแบบง่ายๆ

งานวิจัยของอาจารย์ไพบูรณ์ เสรีวิวัฒนาครับ จากงานวิจัยเรื่อง Common Financial Ratios and Value Investing in Thailand เป็นวิธีการเลือกหุ้นแบบง่ายๆ โดยเลือกหุ้นด้วยตัวเลขทางการเงิน 5 ตัว  ประกอบด้วย

    p/e คือ ราคาหารด้วยกำไรต่อหุ้น
    p/b คือ ราคาหารด้วยมูลค่าทางบัญชี
    d/p คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
    ROE คืออัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น
    ROA คืออัตราผลตอลแทนต่อทรัพย์สิน
    ตัวเลขการเงินทั้ง5ตัว มีอยู่ใน website set.or.th ครับ

เลือกมาต้นปีพอสิ้นปีก็ขาย แล้วก็เลือกใหม่
สรุปสั้นๆ ว่า p/e ใช้ได้ดีที่สุดครับ
……………
p/e ยิ่งต่ำยิ่งดี ผลตอบแทน 38.96% ต่อปี
ตามด้วย p/b ยิ่งต่ำยิ่งดี ผลตอบแทน 33.47% ต่อปี
และ ROE ยิ่งสูงยิ่งดี ผลตอบแทน 30.23% ต่อปี
ส่วน ROA นั้นถือว่าทับซ้อนกับ ROE และสู้ ROE ไม่ได้ ผลตอบแทน 22.02% ต่อปี
และ d/p หรือผลตอบแทนจากปันผล ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดี ผลตอบแทน 20.38% ต่อปี
โดยสรุปแล้ว
หากต้องใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวเดียว
เรียงตามลำดับตัวที่ทำให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ
P/e p/b ROE d/p ครับ

Credit >> http://www.investidea.in.th


การวิเคราะห์หุ้น turnaround

หุ้น turnaround คือหุ้นที่กำลังจะพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร เปรียบเหมือนคนที่ ชัวหนที่ 7 กำลังมาดีอีก 7 หน หุ้นบางตัวก็ turn แล้วจบเลยไม่ growth บางตัวก็ไม่ turn เน่าเหมือนเดิมแก้ไม่หาย บางตัว turn แล้ว growth ต่อ วิธีวิเคราะห์และลงทุนก็ไม่ยาก ตามหลักอริยสัจ 4

1 "ทุกข์ ให้รู้" ในทางพระพุทธศาสนาทุกข์คือความเปลี่ยนแปลง หุ้นที่เข้าข่าย turnaround คือมันเปลี่ยนแปลงในทางไม่ดีนั่นเอง ผลประกอบการขาดทุน จ่ายปันผลไม่ได้ หรือใครๆก็เรียกกันว่าหุ้นเน่านั่นเอง เน่าก็ให้รู้ว่าเน่าไม่เห็นต้องไปตกอกตกใจอะไร ดูมันด้วยใจที่เป็นกลางไปเรือย

ข้อผิดพลาดของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถมองปัญหาด้วยใจที่เป็นกลางได้ เพราะทชอบทำตัวเหมือนคนวงในถ้าปรียบเหมือนการชกมวยนักมวยที่ชกกันไม่ค่อยรู้หรอกเมาหมัดไปเรื่อย แต่คนดูรู้ทุก short บอกได้หมด แก้เกมส์ยังไง ดังนั้นเพื่อให้เราเห็นปัญหาให้เราทำตัวเหมือนคนวงนอก เป็นกรรมการห้ามมวยที่เที่ยงธรรมเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี่จึงเป็นเหตุผลที่อาชีพที่ปรึกษาธุรกิจยังไงก็ไม่ตายเพราะเขาเป็นคนวงนอกครับ

2 "สมุหทัย ให้ละ" เหตุแห่งทุกข์ หุ้นแต่ละตัวมีสาเหตุให้ขาดทุนไม่เหมือนกัน ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ออกว่าปัญหาเกิดจากอะไร ที่พบบ่อยๆก็เช่น
2.1 ขาดทุนชั่วคราว เช่นปี 2554 มีน้ำท่วมหลายบริษัทขาดทุนจากน้ำท่วม บางบริษัทก็ตัดด้อยค่าทรัพย์สินมากมาย
2.2 หุ้นวัฎจักร อยู่ในช่วงตกต่ำ
3.3 ธุรกิจยังมีลูกค้าไม่ถึงจุดคุ้มทุน เช่น simat ลงทุนไปเยอะแต่กำลังทยอยหาลูกค้ามาใช้บริการอยู่เขาว่า 2 ปีน่าจะถึงจุดคุ้มทุน, bch สร้างโรงพญาบาลใหม่ ลูกค้ายังน้อยกำไรก็หดกันไป
4.4 หนี้ท่วมดอกเบี้ยบาน ธรุกกิจเริ่มมีปัญหาอยากรักษาก็กู้มาหมุนเรื่อยๆ ถ้ามันไม่ดีขึ้นก็หนี้เหลือบาน
5.5 แข่งขันไม่ได้ อันนี้ปัญหาหนัก

3 "นิโรธ ให้แจ้ง" เห็นภาพว่าถ้าเหตุของปัญหาดับไป ปัญหาก็จะดับ ธุรกิจก็จะมีกำไร ล้างขาดทุนสะสม และแมงเม่ามาแย่งกันซื้อ

4 "มรรค ให้เจริญ" วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาของผู้บริหารว่ามีโอกาสสำเร็จหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือเปล่า เราจะซื้อหุ้นที่ผู้บริหารกำลังมุ่งมั่นทำให้เหตุแห่งปัญหากำลังหมดไป เท่านั้น
4.1 ขาดทุนชั่วคราวหรือหุ้นวัฎจักร บางทีไม่ต้องทำอะไรทนๆไป เดี๋ยววัฎจักรก็มา
4.2 วางแผนหาลูกค้ามากขึ้นให้ถึงจุดคุ้มทุน
4.3 ปรับโครงสร้างหนี้
4.4 ตัดขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไร หาวิธีลดต้นทุน หรือหันทำธุรกิจใหม่แม่ง
หุ้นที่กำลังจะ turnaround

วิเคราะห์ได้ตาม 4 ขั้นคือ รู้ทุกข์ ละสมุหทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ท่านจะลงทุนหุ้น turnaround อย่างไม่ทุกข์ และไม่ต้องส่งข้อความมาถามเซียนที่ไหนครับ

Credit >> http://www.investidea.in.th


การลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Average)

สวัสดีครับ ผมห่างหายไปจากการเขียนบล๊อกนี้ซะนาน ต้องขออภัยทุกท่านด้วยครับ บังเอิญได้แวะเข้ามาเช็คเรตติ้ง ปรากฎว่าระหว่างที่ผมหายไปจากการเขียนนี้ ยังมีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมบล๊อกนี้อยู่อย่างต่อเนื่องจนยอดรวมแตะหลักหมื่นแล้ว ผมแอบปลื้มใจเพราะตอนเขียนแรกๆ แทบไม่มีคนอ่านเลย แต่มาวันนี้ ยอดผู้อ่านแต่ละวันเฉลี่ย 100 คน และยังมีผู้อ่านที่อยู่ต่างประเทศด้วยครับ หากอยากทักทายกันก็อีเมล์มาหากันได้นะครับ ที่ pattanachai.k@gmail.com ครับ

เมื่อสัปดาห์ที่่ผ่านมา ทางสมาคมนักวางแผนการเงิน ได้ส่งอีเมล์มายังนักวางแผนการเงินที่เป็นสมาชิกสมาคม (รวมตัวผมด้วย) เชิญชวนให้เข้าไปตอบคำถามที่เว็บบอร์ดของสมาคม เนื่องจากมีผู้เข้ามาเขียนกระทู้คำถามเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินต่างๆ ผมจึงลองเข้าไปดู โดยมีหัวข้อหนึ่งมีผู้ถามเกี่ยวกับ DCA ซึ่งผมได้ตอบกระทู้ไป และจึงอยากมาเขียนขยายความเรื่องนี้ในบล๊อกของผมด้วยให้หลายๆ ท่านได้อ่านกันครับ


DCA คือ Dollar Cost Averaging เป็นรูปแบบการลงทุนลักษณะหนึ่ง ขอนุญาตอธิบายเพิ่มนะครับ คือเป็นการที่เราทะยอยเอาเงินจำนวนเท่าๆ กัน ไปลงทุนอะไรอย่างหนึ่ง (ส่วนมากอนุมานว่าเป็นหุ้น) เป็นประจำ เช่น เป็นรายเดือน และทำแบบต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. นำเงิน 3,000 บาท ไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัท ญ ทุกๆ วันที่ 10 ของทุกเดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี (60 เดือน)   บางคนอาจจะเรียกว่า การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ผมขอเรียกง่ายๆ ว่า DCA นะครับ

การลงทุนแบบนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า
1. เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่า เราควรซื้อหุ้นตอนไหน จึงจะได้ราคาดีที่สุด
2. การทะยอยซื้อหุ้น จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าซื้อผิดจังหวะ (คือซื้อตรงราคาแพง) และเพิ่มโอกาสในการเข้าซื้อถูกจังหวะ

ฟังแล้วงง ไม่เป็นไรครับ เอาเป็นว่า DCA ก็คือการซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยไปเรื่อยๆ โดยอาจกำหนดวันที่จะซื้อไว้แน่นอน เช่น ทุกวันที่ 25 ของเดือนซื้อทีนึง เดือนหน้าก็ซื้ออีกทีนึงวันที่ 25 เหมือนเดิม เดือนนู้นอีกทีนึง....ไปเรื่อยๆ

ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือการสร้างวินัยในการลงทุน คือบางครั้ง การที่เราเก็บเงินไว้เป็นก้อนใหญ่ แล้วกะจะเอาไปลงทุนตูมเดียวครั้งเดียวใน 1 ปี บางคนก็คิดเยอะ คิดนาน พยายามหาจังหวะที่จะคิดว่าดีที่สุด แล้วก็ไม่ลงทุนซักที แล้วพอตัดสินใจได้ บางทีก็สายไป หรือไม่ก็ไปซื้อเอาตอนที่คนส่วนใหญ่ก็ซื้อกัน ดังนั้นราคาหุ้นก็แพงสิครับ (ตามหลัก อุปสงค์ อุปทาน ทั่วไป) เช่น คนส่วนใหญ่จะซื้อเอาตอนปลายปี เช่น ท่านที่ซื้อ LTF , RMF ซึ่ง เอาไปใช้หักลดหย่อนภาษี และช่วงใกล้ปลายปี ทางธนาคารต่างๆ ก็พยายามออกโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมมายั่วใจนักลงทุน ทำให้ตัดสินใจกันง่ายขึ้นในช่วงปลายปีหรือโค้งสุดท้าย ไม่เช่นนั้นก็จะเสียดาย ลดหย่อนภาษีไม่ทัน

ผมทำตารางผลตอบแทนมาให้ดูว่า ถ้าหากท่านมีเงินต้น 1 แสนบาท นำไปลงทุน และแต่ละเดือน ท่านยังเติมเงินเข้าไปอีกเดือนละ 3,000 บาท ทุกเดือน และแต่ละปี ท่านเพิ่มเงินลงทุนนี้ ปีละ 5% เพราะท่านมีรายได้เพิ่มทุกปี จึงสามารถนำเงินมาลงทุนเพิ่มได้ และกำหนดว่าถ้าได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10%*  ลองดูนะครับ ว่าเวลาผ่านไปกี่ปี เงินดังกล่าวก้อนนี้ จะเพิ่มขึ้นเป็นกี่บาท

ตัวอาจจะเล็กไปหน่อยนะครับ ขออภัยด้วยครับ แต่สรุปว่า ถ้าทำแบบนี้ไปจนเกษียณ หรือใช้เวลาสัก 29 ปี เงินดังกล่าว จะกลายเป็นเงิน 10 ล้านบาทครับ!  ดังนั้น ถ้าเริ่มเร็ว และมีวินัย เราก็สามารถมีเงินใช้ยามเกษียณได้อย่างสบายๆ นะครับ เริ่มเสียแต่วันนี้นะครับ

สำหรับตัวผมเอง มีประสบการณ์ตรง กับการลงทุนแบบ DCA โดยลงทุนใน LTF ครับ เพิ่งครบกำหนดขายกองทุนได้ตอนปีนี้เอง ผลปรากฎว่า คำนวณดูแล้ว ได้ผลตอบแทนมากกว่า 10% ต่อปีอีกนะครับ (ขออุบว่ามากกว่าเท่าไหร่ เดี๋ยวบางท่านอิจฉา) ลองดูกันนะครับ เริ่มจากจำนวนเงินไม่ต้องมากก็ได้ครับ และไม่จำเป็นต้องลงทุนใน LTF เสมอไป เดี๋ยวนี้มีกองทุนเปิดที่ลงทุนในหุ้น มากมายหลายกองทุนครับ

อย่างไรก็ดี การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนนะครับ
ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ


การเทรดหุ้นจำลองดีไหม

เมื่อไม่นานมานี้มีเพื่อนนักลงทุนมือใหม่มาถามผมเกี่ยวกับการเทรดหุ้นในพอร์ทจำลอง เพื่อนนักลงทุนคนนี้บอกว่าตัวเขาอยากเทรดหุ้นในพอร์ทจำลองเพื่อจะได้ทดลองแนวทางการเทรดของตัวเอง

เนื่องจากว่าเค้าเพิ่งลงทุนมาไม่นาน จึงยังไม่รู้ว่าแนวทางการเทรดของตนว่าดีและเหมาะสมหรือยัง เขาถามผมว่าผมมีความคิดเห็นอย่างไร…

ผมตอบไปตามความคิดและประสบการณ์ของตัวเองว่า ผมไม่ค่อยเห็นด้วยซักเท่าไหร่นัก จีงขอยกมุมมองของ Mark Minervini หนึ่งใน Market Wizard เกี่ยวกับการเทรดจำลองมาให้ลองดูกันครับ

Minervini บอกว่า ตัวเค้าเองไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและไม่ชอบการเทรดจำลอง (หรือ Paper Trade) แม้ว่าการเทรดจำลองเพื่อการฝึกฝนก่อนการใช้เงินจริงอาจจะฟังดูสมเหตุสมผลก็ตาม

โดย Minervini ยกตัวอย่าง การฝึกฝนเพื่อเป็นนักมวยมืออาชีพด้วยการชกลมอย่างเดียว

กล่าวคือ ‘คุณไม่ทางรู้ว่าคุณจะโดนหมัดแบบไหนบ้าง หากคุณไม่ลองขึ้นชกบนเวทีพร้อมกับคู่ต่อสู้จริงๆ’

การเทรดหุ้นจำลองก็เปรียบเสมือนการเป็นนักมวยที่ ‘ชกแต่ลม’ หากคุณไม่ขึ้นสังเวียน ไม่เข้าไปเทรดด้วยเงินจริงในตลาด คุณก็จะไม่รู้สึกถึงหมัดจริง ไม่รู้สึกถึงความกดดันจากเงินจริงๆของคุณเองในตลาด

แม้ว่าการเทรดจำลองอาจจะช่วยให้คุณเรียนรู้การเทรดของตัวเองได้บ้าง แต่มันอาจก่อให้เกิดความเชื่อหรือสัญชาติญาณการลงทุนแบบผิดๆ การตัดสินใจแบบผิดๆ

เพราะเมื่อเป็นการเทรดจำลอง คุณย่อมตัดสินใจได้ง่ายดายกว่าเงินจริงอย่างแน่นอน และไม่มีหลักประกันอะไรมารองรับว่า คุณจะตัดสินใจในการเทรดจริงเหมือนกับที่คุณตัดสินใจในการเทรดจำลอง

ดังนั้น ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงฝึกหัด คุณควรเริ่มด้วยเงินจริงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยให้เริ่มด้วยเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งคุณสามารถสูญเสียมันได้โดยไม่มีผลกระทบกับชีวิตของคุณ แต่ก็ต้องเป็นเงินจำนวนมากพอที่จะทำให้คุณรู้สึก “เจ็บปวด” เมื่อคุณต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปจากความผิดพลาด

จงทำตัวให้คุ้นชินกับการเทรดของจริง เพราะสิ่งที่คุณต้องการคือเงินจริงๆเช่นกัน…

Credit >> http://www.sarut-homesite.net


จุดสังเกตุงบการเงิน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะมีการวิเคราะห์ด้วยกัน 2 แบบ คือ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณนี้ ก็หนีไม่พ้นต้องวิเคราะห์จากงบการเงิน โดยวิเคราะห์งบการเงินย้อนหลังให้มากที่สุด เท่าที่ข้อมูลเราจะหาได้

ในงบการเงินนั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญๆ คือ งบดุล(Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบกระแสเงินสด(Cash Flow Statement) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to Financial Statement) ข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องใช้ร่วมกัน ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้

งบดุล จะให้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆบริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สินและทุน มากน้อยเท่าไร มีความมั่นคงเพียงใด

สังเกตง่ายๆว่า หากหนี้สินมากกว่าทุน แสดงว่า บริษัทนี้กู้เงินมาลงทุนเป็นส่วนใหญ่ และมักจะมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและใช้คืนเงินต้นมากมายและยาวนานหลายปี สินทรัพย์ที่มีเกือบทั้งหมดจะเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ รายได้ที่ทำมาหาได้จากการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นของเจ้าหนี้ ส่วนที่เหลือถึงจะตกมาถึงผู้ถือหุ้น บริษัทนี้หากเกิดวิกฤติขึ้นมา มักจะเกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน

ในทางกลับกัน หากบริษัทมีหนี้น้อย รายได้ส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์ที่บริษัทมีจะเป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่

บริษัทที่ Value Investor ชอบ ก็คือ บริษัทที่ไม่มีหนี้สิน หรือมีน้อยมาก เพราะปลอดภัยและรายได้ที่หาได้เป็นของผู้ถือหุ้น

“งบกำไรขาดทุน” จะให้ข้อมูลว่า บริษัทได้ดำเนินกิจการในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆ มีรายได้จากการดำเนินงานมาจากอะไรบ้าง มีต้นทุนเกิดขึ้นเท่าไรบ้าง ในงบกำไรขาดทุนนี้จะมีการบันทึกบัญชีการได้ค่าใช้จ่ายแบบคงค้าง คือได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน เมื่อส่งสินค้าแล้วถือว่า ได้ขายออกไปแล้ว

ดังนั้น เวลาวิเคราะห์งบการเงินต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีให้ละเอียดว่า บริษัทมีนโยบายในการบันทึกบัญชีอย่างไร..?

“งบกระแสเงินสด” จะประกอบไปด้วยข้อมูลทางการเงิน 3 ส่วน คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ให้ข้อมูลที่ปรับจากเกณฑ์คงค้างในงบกำไรขาดทุนมาเป็นเกณฑ์เงินสด เราจะได้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆนั้น บริษัทขายสินค้าแล้วสามารถเก็บเป็นเงินสดได้มากน้อยเท่าไร ทั้งนี้ จะมีการปรับรายการที่ไม่ใช่เงินสดออกจนหมด เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อุปกรณ์ สินค้าคงเหลือต่างๆ และข้อมูลอีกมาก

ส่วนกระแสเงินสดจากการลงทุน จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทว่า ในเวลางวดนั้น บริษัทได้ใช้เงินลงทุนไปในเรื่องใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใด

กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ให้ข้อมูลว่า บริษัทจัดหาเงินมาใช้ลงทุนและดำเนินกิจการจากแหล่งใด กู้มาหรือใช้ทุนเดิมหรือเพิ่มทุน

ผมอยากจะยกตัวอย่างง่ายๆ กับการสังเกตงบการเงินเพื่อการลงทุนที่ปลอดภัย หลายท่านคงจะจำกรณี “หุ้น ROYNET” กันได้ดี หรือหากเป็นนักลงทุนใหม่คงจะต้องกลับไปค้นกันหน่อยครับ เพราะกรณีนี้โด่งดังมากและทำให้นักลงทุนกลายร่าง ปีกงอกเป็นแมงเม่ากันมากมาย จน ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ต้องลงมาจัดการกันจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต จนทุกวันนี้ยังไม่จบเรื่องเลยครับ

รายการนี้นักลงทุนหลายคนเจออาการที่เรียกว่า ผีหลอกกลางวัน ครับ กำไรอยู่ดีๆตั้งสองไตรมาส 10.2 ล้านบาท ก้าวกระโดดจากขาดทุนสุทธิ 11.19 ล้านบาทในปีก่อน แล้วกลับมาเป็นขาดทุนสุทธิ 36.7 ล้านบาทในไตรมาส 3 ขาดทุนสะสมแล้ว 71ล้านบาท

ก่อนหน้านั้นบริษัทรายงานว่า บริษัทพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไรได้อย่างมากมาย จัดว่า “ก้าวกระโดด” เลยก็ว่าได้ ที่มาของอาการผีหรอกก็ไม่มีอะไรมากครับ ผู้บริหารแกล้งทำเป็นไร้เดียงสาบันทึกรายได้เร็ว(เกิน)ไป(ไม่)หน่อยครับ แต่แล้วก่อนประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 พวกท่านก็เกิดรู้เดียงสาขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยนำหุ้นของพวกในตระกูลท่านที่มีอยู่ 60% ของทุนจดทะเบียน เข้าไปขายให้แมงเม่าทั้งหลายจนหมดสิ้น

พอ…งบออกเท่านั้นแหละครับ ซากแมงเม่าก็กองเกลื่อนไปทั่วตลาดหลักทรัพย์

ผมลองเข้าไปดูงบย้อนหลังดูพบว่า บริษัทฯขายชั่วโมง Internet แบบฝากขาย บริษัทย่อยให้บริการอี-คอมเมิร์ซและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการออกแบบ website และการรับรู้รายได้ก็เปิดเผยอย่างชัดเจนในหมายเหตุประกอบงบการเงินในข้อที่ 3 สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ หัวข้อย่อยที่ 3.1 บริษัทรับรู้รายได้ดังนี้

3.1.1 รายได้จากการขายบันทึกรับรู้ เมื่อส่งมอบสินค้า

3.1.2 รายได้จากการฝากขายบันทึกรับรู้ เมื่อได้รับการชำระเงิน

แต่ในงบกำไรขาดทุนมีหัวข้อ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ รายได้ดอกเบี้ย รายได้อื่นๆ ไม่มีหัวข้อรายได้จากการฝากขาย จึงเป็นช่องทางให้ผู้บริหารเล่นแร่แปรธาตุได้อย่างง่ายดาย โดยผู้สอบบัญชีเองก็ไม่อาจตรวจพบได้ (อันนี้ไม่รับรองนะครับ)

เรื่องของเรื่อง คือ บริษัทเร่งรับรู้รายได้จากการฝากขาย ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับชำระเงินเป็นจำนวนมากทั้ง 2 ไตรมาส จนไตรมาส 3 ผู้สอบบัญชีทนไม่ได้ จึงทำการปรับงบการเงินให้สะท้อนภาพความเป็นจริง ซึ่งเป็นเหตุให้แมงเม่าวงแตกกระเจิง

โดยไตรมาส 1 รับรู้รายได้ 24 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6.9 ล้านบาท ไตรมาส 2 รับรู้รายได้ 23.4 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 3.24 ล้านบาท

ทีนี้ มาดูที่งบกระแสเงินสด ผมพบตัวเลขในหัวข้อ ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ในไตรมาสแรกประมาณ 22 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนหน้าที่ประมาณ 34,738 บาท ในไตรมาส 2 งวด 6 เดือนประมาณ 42.25 ล้านบาท เทียบกับงวด 6 เดือนของปีก่อนหน้าที่ประมาณ 504,143 บาท พอมาในงวด 9 เดือน ตัวเลขเหล่านี้ถูกปรับใหม่จนมีสภาพดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

อย่างที่ยกตัวอย่างมานี่แหละครับ แค่เรื่องการรับรู้รายได้แค่นี้ ก็ทำร้อนไปตามๆกัน เหตุการณ์นี้บอกให้รู้ว่า งบการเงินนั้น หากเราวิเคราะห์และสังเกตให้ดีๆ มันคือแหล่งข้อมูลที่จะบอกพิรุธได้อย่างมาก แต่ก็น้อยคนจริงๆที่จะใส่ใจดูกัน

สำหรับผมและเพื่อน Value Investor อีกหลายท่านมุ่งเน้นว่า ต้องรู้เรื่องธุรกิจให้ชัดเจนทุกขุมขนเลย มีความรู้เรื่องบัญชีเล็กน้อยแต่ให้สังเกตและตั้งข้อสงสัยให้มากไว้ แล้วหาคำตอบให้ได้ก่อนการลงทุน จะปลอดภัยครับ

Credit >> http://www.sarut-homesite.net


ทำไมหุ้นถึงลง

“ทำไมหุ้นถึงลง?” ฟังดูเหมือนคำถามง่ายๆที่ใครๆก็อยากรู้นะครับ แต่คำถามนี้ ถ้าลองไปถามนักลงทุนแต่ละท่านแล้วละก็ ผมเชื่อว่าจะได้รับคำตอบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ซึ่งคำตอบของใครจะถูกหรือผิดนั้นไม่เป็นไรเพราะต่างคนก็ต่างมุมมอง แต่ผมมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงนำมาเขียนเป็นบทความนี้ครับ

เมื่อไม่นานมานี้ Mark Minervini หนึ่งในเซียนหุ้นของอเมริกา ได้เขียนบล็อคส่วนตัวของเขาซึ่งพูดถึงสาเหตุที่ทำให้หุ้นลง โดย Mark บอกว่า ตัวเค้าก็ถูกถามตลอดเวลาเช่นกันว่า “หุ้นตัวนี้พื้นฐานก็ดี แต่ทำไมหุ้นถึงลง?”

ซึ่ง Mark ก็ตอบคำถามด้วยคำตอบสั้นๆง่ายๆว่า หุ้นมันลงก็เพราะ มีคนขายมากกว่าคนซื้อ ซึ่งเป็นไปตามหลักพื้นฐานในตลาด หรือกฏของ Demand Supply เท่านั้นเอง

และเขายังกล่าวอีกด้วยว่า สาเหตุ ที่ทำให้หุ้นขึ้นหรือลงนั้น จริงๆเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ สิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้คือ การสังเกตพฤติกรรมของหุ้นผ่านทาง Price & Volume Action ต่างหาก

ใช่แล้วครับ! เหตุผลง่ายๆและจริงที่สุดที่ทำให้หุ้นลงก็เป็นอย่างที่ Mark ว่า ก็คือ มีคนขายมากกว่ามีคนซื้อ

เมื่อ Supply มากกว่า Demand จึงทำให้ราคาลดลง และบ่อยครั้งที่กว่านักลงทุนทั่วไปจะรับรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้หุ้นราคาลงมาอย่างรุนแรง ก็มักจะสายเกินกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการขาดทุนไปแล้ว หรือในทางตรงกันข้าม คุณอาจจะพลาดกำไรก้อนโตไปเสียแล้ว เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่มักจะมี ราคาเป้าหมาย หรือ ราคาที่ควรจะเป็น ของหุ้นที่ตัวเองสนใจอยู่เสมอ เมื่อราคาที่ปรากฏในตลาดนั้นแตกต่างไปจากสิ่งที่ตัวเองคิด ก็มักจะทุ่มเทความพยายามไปกับการค้นหาคำตอบว่าทำไมมันถึงไม่เป็นไปตามที่ตนได้คิดคำนวนเอาไว้

มีประโยคหนึ่งที่ Mark ได้ฝากเอาไว้ให้กับเหล่านักลงทุนว่า “A stock is like a painting, It’s only worth what someone else is willing to pay” หรือ “หุ้นก็เปรียบเสมือนกับภาพเขียน มันมีมูลค่าเท่าที่คนอื่นพอใจจะซื้อเท่านั้น”

ดังนั้น อย่ามัวยึดติดอยู่กับราคาที่คุณคาดหวังจะให้หุ้นของคุณเป็น เพราะคุณไม่ใช่คนกำหนดราคาหุ้น แต่ตลาดคือคนกำหนดราคาของหุ้นผ่านทาง Price & Volume Action ของหุ้นแต่ละตัวนั่นเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆท่านอาจจะไม่เห็นด้วย หรือรู้สึกว่าสิ่งที่ผมพยายามพูดถึงนั้นมันขัดกับหลักการลงทุนของตัวท่าน หลายท่านอาจจะคิดในใจขึ้นมาว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ การที่เราไม่รู้สาเหตุของการขึ้นหรือลงของหุ้นแต่ละตัว แล้วเราจะมั่นใจได้ยังไงว่าหุ้นตัวนั้นมันจะขึ้นหรือมันจะลง?

คำตอบก็คือ การฝึกสังเกต Price & Volume Action อย่างที่ Mark ได้พูดถึงนั่นเองครับ

Credit >> http://www.sarut-homesite.net


เคล็ดลับลงทุนหุ้น 5 ข้อ

"จุดได้เปรียบของผม อยู่ที่การใช้เครื่องมือและสัญญาณทางเทคนิคประกอบการตัดสินใจลงทุนเป็นหลัก"
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้นมีหลายแนวทาง ทางหนึ่งก็คือการใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบเทคนิเคิล เช่น .."ธิติ ธาราสุข" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาร์ตมาสเตอร์ จำกัด ได้เผยเคล็ดลับการลงทุนว่า เขายึดหลักการลงทุน 5 ข้อ เป็นแนวทางก่อนก้าวเท้าเข้าลงทุนในตลาดหุ้น..



หนึ่ง..จะต้องรู้ถึงแนวโน้มของตลาด หรือภาพรวมก่อนว่า ก่อนลงทุนต้องมอง “แนวโน้มเป็นเพื่อนของคุณ” (Trend is Your Friends) ถ้าตลาดเป็นขาลงไม่จำเป็นต้องลงทุน แต่พอตลาดเป็นขาขึ้น ก็ค่อยกระโจนลงสู่ตลาดหุ้นได้

สอง..จังหวะเวลา (Timing) ที่เหมาะสมเข้าลงทุน เนื่องจากการเคลื่อนไหวของตลาดทุกอย่างมี "วัฏจักร" มีทั้งขาขึ้นและขาลง

"เล่นหุ้นในเชิงเทคนิค คุณต้องลงทุนในช่วงขาขึ้นเท่านั้น อย่าไปเสี่ยงลงทุนในช่วงขาลง หรือสัญญาณจะปรับตัวเป็นขาลง"

สาม..ต้องดูดีมานด์และซัพพลายของตลาด

ธิติบอกว่า หุ้นแต่ละตัวมีอุปสงค์และอุปทานเหมือนกับ "ตาชั่งวัด" จะมีการปรับตัวโยกขึ้น โยกลง และปรับสู่สมดุลเสมอ การเข้าสู่ตลาดตอนที่ตาชั่งแกว่งตัว ปรับจากการไม่สมดุลสู่สมดุล จะเกิดการปรับทิศทางแล้วค่อยเข้าลงทุนช่วงนั้น

"ช่วงที่ซัพพลายมากๆ จะเป็นช่วงเทขาย ขณะที่ซัพพลายน้อย ดีมานด์มากขึ้นถึงจุดสมดุล เราค่อยเข้าสู่ตลาด คือตลาดบ้านเราจะแกว่งตลอดเวลาตามดีมานด์และซัพพลาย"

สี่.."ห้ามโลภ"

หากได้กำไรเมื่อหุ้นขึ้นไป 1-2 ช่อง ให้ตัดขายทำกำไรทันที (ถ้าเล่นเร็ว) และให้คิดเสมอว่า หุ้นที่ขายแล้วแม้จะปรับตัวขึ้นไปอีก ให้ถือว่าคุณได้ถ่ายทอดความเสี่ยงแก่คนที่รับซื้อต่อ

"นักลงทุนบ้านเรา เวลาขายหุ้นไปแล้วขึ้น จะไปรับซื้ออีกครั้ง บางทีกลับเป็นความเสี่ยงที่มากขึ้น"

และห้า..พิจารณาตัวเองก่อนเข้าตลาด โดยให้พิจารณาว่าตัวเอง "ได้เปรียบ" นักลงทุนคนอื่นหรือไม่

"ถ้าคุณไม่ได้เปรียบ แสดงว่าคุณเสียเปรียบ ห้ามลงทุนเด็ดขาด เมื่อประเมินตัวเองว่าได้เปรียบใครบ้าง อย่างนักลงทุนบ้านเรามี 2 แสนคน ก็ต้องมาพิจารณาว่าเราได้เปรียบกี่คนในสองแสนคน ถ้าไม่ได้เปรียบ คำตอบคืออย่าลงทุน"

แนวทางการลงทุนของธิติ เขาจะใช้หลักวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค และตัดสินใจลงทุนเป็นรอบๆ โดยเขาจะลงทุนเพียง 2-3 รอบต่อปี เท่านั้น

"การลงทุนเชิงเทคนิคอล มันเป็นเหมือนเวทมนตร์ เพราะมักมีโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่ดีเสมอ ผมจึงเปลี่ยนจากแนวการลงทุนปัจจัยพื้นฐาน มาเป็นการลงทุนเชิงเทคนิค ซึ่งลงทุนแล้วประสบผลสำเร็จจริง แม้หุ้นที่มีพื้นฐานดีแต่เรารอให้ราคาหุ้นปรับขึ้นไม่ไหว เพราะการปรับตัวขึ้นต้องใช้เวลานาน

และเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของหุ้นบลูชิพจะน้อยกว่าการเล่นแบบเทคนิค ซึ่งเมื่อหาจังหวะลงทุนที่เหมาะสมได้ ผลตอบแทนที่ได้จะสูงกว่ามาก โดยไม่ต้องลงทุนตลอดปี ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ และปีหนึ่งๆ ผมจะลงทุน 2-3 รอบเท่านั้น และหากตลาดหุ้นไม่ใช่ขาขึ้น ก็จะไม่ต้องลงทุนเด็ดขาด"

วิธีการเล่นทางเทคนิคของธิติ เขาจะสร้าง "โปรแกรม" ที่เรียกว่า "BOT" ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่หาข้อมูลและค้นหาหุ้นในตลาด โดยสร้างเงื่อนไขว่าต้องการหุ้นแบบไหน และหุ้นตัวไหนมีสัญญาณเป็นบวก จากนั้นจะใช้ความสามารถของคนมาคัดเลือกหรือสกรีนหุ้นให้เหลือ 2-3 หุ้น ที่มีสัญญาณชัดเจนและน่าสนใจลงทุนเท่านั้น

"จุดได้เปรียบของผม อยู่ที่การใช้เครื่องมือและสัญญาณทางเทคนิค มาประกอบการตัดสินใจลงทุนเป็นหลัก"

ธิติบอกว่า เขาเริ่มลงทุนจริงจังเมื่อราวปี 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีตลาดอยู่ที่ 380 จุด และได้ปรับขึ้นเป็น 800 จุด มูลค่าการซื้อขายของตลาดสูงถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อวัน

"ตอนเริ่มลงทุนใหม่ใช้เงิน 2 แสนบาท จากนั้นขยับขยายไปเรื่อยๆ ตอนนั้นผลตอบแทนที่ได้จะคูณสอง จากนั้นมูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 5 แสนบาทได้

จากนั้นผมเริ่มลดพอร์ต เพราะดัชนีได้ปรับตัวสูงขึ้นเกินไป และมีสัญญาณลบออกมา โดยปกติเมื่อใดที่ค่าพีอีจะสูงถึง 31 เท่า แสดงว่าตลาดร้อนแรงเกินไปแล้ว จากนั้นจะปรับตัวลดลง แม้ช่วงนั้นค่าพีอีจะไม่ถึง 31 เท่า แต่มีสัญญาณบางอย่างไม่ดีออกมา ผมจึงกระโดดออกจากตลาด และลดพอร์ตลงมาเรื่อยๆ

ปัจจุบันมูลค่าพอร์ตหุ้นของเขาอยู่ที่ 3.8 แสนบาท หลังจากที่ได้ทยอยขายหุ้นนำกำไรออกไปบ้างแล้ว

ส่วนจำนวนหุ้นในพอร์ต เขาจะเล่นหุ้นไม่เกิน 5 บริษัท เพื่อให้สามารถดูภาพรวมทั้งหมดได้ โดยกระจายลงทุนในหุ้น 3 ส่วนหลัก คือ ลงทุนหุ้นกลุ่มนำเข้า กลุ่มส่งออก และหุ้นกลุ่มพลังงาน

"ผมจะไม่ลงทุนหุ้นใหญ่ เพราะเล่นเทคนิคจะไม่ลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก และไม่สนใจเงินปันผล แต่เราสนใจว่าเมื่อเราซื้อหุ้นแล้ว หุ้นต้องขึ้น เมื่อขายแล้วหุ้นต้องลง ซึ่งเป็นหลักเทคนิคอล"

ธิติบอกว่า ผลตอบแทนการลงทุนใน 2550 ไม่ค่อยสูงมากนัก จะอยู่ประมาณ 28-32%

"เพิ่งจะตีตื้นตอน 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่เราทำเงินได้มาก และหุ้นมีสัญญาณชัดเจนปรับตัวขึ้น จริง ๆ เริ่มตอนที่ตลาด Crash ไปครั้งหนึ่ง ช่วงนั้นเราจับสัญญาณได้ เราจึงเริ่มเข้าตลาด และซื้อเมื่อขึ้นไปสักพักจึงเริ่มขาย เราไม่สนใจว่าหุ้นนั้นเป็นอะไร แต่สนใจว่าเมื่อซื้อต้องขึ้น ขายต้องลง"

ปัจจุบันแนวทางการบริหารเงินส่วนตัวของผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทเน็กซ์วิว จะนำเงินลงทุน 30% ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยซื้อบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ จะซื้อเก็บและให้เช่า เงินลงทุนอีก 30% นำไปลงทุนในตลาดหุ้น

ส่วนที่เหลือ 40% เป็นเงินฝาก และลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

Credit >> http://www.technicalday.com


การใช้อัตราส่วนต่างๆเพื่อหามูลค่า

อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) หรือมูลค่าทางบัญชี (P/B) นำมาใช้ประเมินมูลค่าแบบคร่าวๆ ได้ เช่น

1.    P/E ของกิจการใดต่ำกว่า P/E เฉลี่ยของกิจการอื่นที่ทำธุรกิจเดียวกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งที่ไม่มีปัญหาอะไร ย่อมถือว่า เป็นหุ้นที่ถูกกว่า ตลาดอาจจะให้มูลค่าผิดไปในบางช่วงเวลา และราคาจะกลับมาที่ควรจะเป็นได้
2.    P/B ที่ต่ำกว่า 1 หมายถึงราคาตลาดของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี โดยหลักการทางบัญชีแล้ว หากการบันทึกราคาครอบคลุมทั้งสินทรัพยที่มีและไม่มีตัวตนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ P/B ควรจะเท่ากับ 1 ที่ P/B ต่ำกว่า 1 อาจจะเป็นไปได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ไม่ได้ปรับราคาตามความเป็นจริง (เช่นที่ดิน เครื่องจักร มูลค่าแบรนด์ ลิขสิทธิ์ หรือมูลค่าโอกาสทางธุรกิจในอนาคต) หรือหากเป็นตามความเชื่อของการลงทุนแบบคุณค่าก็คือ นักลงทุนในตลาดประเมินมูลค่าหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หากเป็นกรณีนี้ นักลงทุนก็จะมีโอกาสทำกำไรหากราคาหุ้นกลับเข้ามาสู่มูลค่าที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามการใช้อัตราส่วนทั้ง P/E และ P/B ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น

1.    มาตรฐานการบันทึกมูลค่าทางบัญชีของแต่ละบริษัทต่างกัน จึงไม่สามารถเทียบกันได้อย่างสมบูรณ์
2.    วิธีการทำบัญชีของแต่ละประเทศต่างกัน
3.    บอกความเสี่ยงของกิจการได้ไม่สมบูรณ์ อันที่จริง หุ้นที่ P/E และ P/B ต่ำนั้น จะมีค่าความเสี่ยงสูงกว่าโดยเฉลี่ย (ข้อมูลเพิ่มเติม ลองอ่าน Fama (1991) และ Fama (1998) )
4.    มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า P/E ไม่บอกถึงความเติบโตของกิจการ อันที่จริง หุ้นที่มี P/E สูงก็เนื่องจากว่านักลงทุกคาดหมายการเติบโตที่สูงมากนั่นเอง

Credit >> http://th.wikipedia.org


การประเมินมูลค่ากิจการ

การลงทุนแบบคุณค่านั้นมีหลายแนวทางอยู่ที่การตีความ วิธีประเมินมูลค่าตามแบบของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของ ตามหนังสือ Value Investing from Graham to Buffett and Beyond ของ Greenwald และคณะ ได้แสดงไว้ 3 วิธี

    วิธีต้นทุนทดแทน (Replacement Cost) คือการหาว่าหากต้องการสร้างกิจการนี้ขึ้นมาใหม่ จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ วิธีนี้จะแก้ไขการใช้มูลค่าทางบัญชี ซึ่งไม่ได้รวมต้นทุนการสร้างกิจการไว้ทั้งหมด เช่นค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร แบรนด์ ความนิยมหรือใบอนุญาตประกอบกิจการเฉพาะ
    ความสามารถในการทำกำไร (Earning Power Value) พิจารณามูลค่ากิจการจากความสามารถในการสร้างเงินสด และ/หรือกำไรจากผลประกอบการ
    การเติบโต (Growth) พิจารณาความเติบโตของผลกำไร

Credit >> http://th.wikipedia.org


หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ตามหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า นักลงทุนจะประเมินมูลค่าบริษัทและหุ้นของบริษัทด้วยปัจจัยพื้นฐาน เมื่อได้มูลค่าที่เหมาะสมแล้วจึงพิจารณาราคาในตลาดหลักทรัพย์ หากพบว่าราคาของหลักทรัพย์ทั้งหมดต่ำกว่า ก็จะเข้าซื้อหุ้น ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าราคาในตลาดจะวิ่งไปหามูลค่าที่เหมาะสมในระยะยาว อันที่จริง หลักการลงทุนทุกรูปแบบยกเว้นแบบเทคนิคอล จะเลือกซื้อหุ้นเมื่อพบว่าราคาหลักทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน (หลักการทางเศรษฐศาสตร์ก็บอกเช่นกันว่า ให้ลงทุนในโครงการที่มี Abnormal Profit หรือ Economic Profit) ดังนั้น การเลือกหุ้นที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน จึงมิไม่เป็นหลักการเฉพาะของการลงทุนแบบคุณค่าแต่อย่างใด ที่หลักการการลงทุนแบบคุณค่าแตกต่างกับวิธีการการลงทุนแบบอื่นๆก็คือ การลงทุนแบบคุณค่าเชื่อว่าอัตราส่วนทางบัญชี เช่น P/E และ P/BV ที่ต่ำ สามารถบ่งบอกว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน ในขณะที่การลงทุนแบบอื่น อาทิ แบบ Growth เชื่อว่าอัตราเติบโตเร็วบ่งบอกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้นนั้นสูงกว่าราคาปัจจุบัน (ซึ่งก็แปลว่า ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานเช่นกัน นั่นเอง) สาเหตุที่หุ้นที่ P/E และ P/BV ต่ำมักจะมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน งานวิจัยบางส่วนบ่งบอกว่าเกิดจากปัจจัยทางจิตวิทยา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ประเมินหุ้นที่มีผลการดำเนินงานช่วงหลังๆไม่ค่อยดี หรือว่าหุ้นที่มีอัตราการเติบโตต่ำ ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผลตรงนี้สนับสนุนความเชื่อของ เบนจามิน เกรแฮม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการวิจัยพบว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดในระยะยาว ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการว่า สาเหตุของกำไรเกิดจากอะไร ฝ่ายหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้ว เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากผลทางจิตวิทยา (Behavioural Finance) นำโดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด ทาเลอร์ เดเนียล คาห์เนมาน (โนเบล 2004) ฯลฯ โดยการงานวิจัยทางจิตวิทยาสนับสนุนในขณะที่อีกฝ่ายเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการที่หุ้นที่มีอัตราส่วนทางบัญชีต่ำนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นโดยทั่วไป ซึ่งค่ายนี้นำโดย ยูจีน ฟามา มาร์ค รูบินสไตน์ ฯลฯ โดยมีหลักฐานชี้ว่า หากมีการปรับ Asset Pricing Model โดยพิจารณาความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราส่วนบัญชีเข้าไปด้วย การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนแบบทั่วไปแต่อย่างใด กำไรที่สูงกว่าเกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่มากกว่าเท่านั้นเอง (ข้อมูลเพิ่มเติม: Fama and French (1996) )

ปัจจุบันได้มีหนังสือที่ออกมาเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าวหลายเล่ม ที่ยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ของนักลงทุนก็เช่น Security Analysis และ The Intelligent Investor โดยเบนจามิน เกรแฮม

อย่างไรก็ตาม ด้วยวิวัฒนาการในการลงทุน จึงมีแนวคิดอื่นเช่นการลงทุนในหุ้นโตเร็ว และปัจจัยทางการบริหารจัดการ ฟิล ฟิชเชอร์เป็นเจ้าของแนวคิดดังกล่าว ท่านเป็นนักลงทุนอีกท่านในยุคนั้นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้แต่งหนังสือชื่อ Common Stock and Uncommon Profit ขึ้นมา ในหนังสือนี้จะสอนให้นักลงทุนพิจารณาปัจจัยทางคุณภาพมากกว่า ปัจจัยทางปริมาณซึ่งหลักการนี้ต่างจากหลักการของเกรแฮมที่สอนให้นักลงทุนศึกษาปัจจัยทางปริมาณ

ปัจจุบันมีแนวคิดและหลักการต่างๆ ประยุกต์และแตกแขนงออกไปจากหลักการพื้นฐาน แต่ทุกแนวคิดก็ยังต้องอิงกับปัจจัยทางปริมาณ และปัจจัยทางคุณภาพ ร่วมกันเพื่อประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม

Credit >> http://th.wikipedia.org