การใช้อัตราส่วนต่างๆเพื่อหามูลค่า

อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) หรือมูลค่าทางบัญชี (P/B) นำมาใช้ประเมินมูลค่าแบบคร่าวๆ ได้ เช่น

1.    P/E ของกิจการใดต่ำกว่า P/E เฉลี่ยของกิจการอื่นที่ทำธุรกิจเดียวกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งที่ไม่มีปัญหาอะไร ย่อมถือว่า เป็นหุ้นที่ถูกกว่า ตลาดอาจจะให้มูลค่าผิดไปในบางช่วงเวลา และราคาจะกลับมาที่ควรจะเป็นได้
2.    P/B ที่ต่ำกว่า 1 หมายถึงราคาตลาดของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี โดยหลักการทางบัญชีแล้ว หากการบันทึกราคาครอบคลุมทั้งสินทรัพยที่มีและไม่มีตัวตนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ P/B ควรจะเท่ากับ 1 ที่ P/B ต่ำกว่า 1 อาจจะเป็นไปได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ไม่ได้ปรับราคาตามความเป็นจริง (เช่นที่ดิน เครื่องจักร มูลค่าแบรนด์ ลิขสิทธิ์ หรือมูลค่าโอกาสทางธุรกิจในอนาคต) หรือหากเป็นตามความเชื่อของการลงทุนแบบคุณค่าก็คือ นักลงทุนในตลาดประเมินมูลค่าหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หากเป็นกรณีนี้ นักลงทุนก็จะมีโอกาสทำกำไรหากราคาหุ้นกลับเข้ามาสู่มูลค่าที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามการใช้อัตราส่วนทั้ง P/E และ P/B ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น

1.    มาตรฐานการบันทึกมูลค่าทางบัญชีของแต่ละบริษัทต่างกัน จึงไม่สามารถเทียบกันได้อย่างสมบูรณ์
2.    วิธีการทำบัญชีของแต่ละประเทศต่างกัน
3.    บอกความเสี่ยงของกิจการได้ไม่สมบูรณ์ อันที่จริง หุ้นที่ P/E และ P/B ต่ำนั้น จะมีค่าความเสี่ยงสูงกว่าโดยเฉลี่ย (ข้อมูลเพิ่มเติม ลองอ่าน Fama (1991) และ Fama (1998) )
4.    มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า P/E ไม่บอกถึงความเติบโตของกิจการ อันที่จริง หุ้นที่มี P/E สูงก็เนื่องจากว่านักลงทุกคาดหมายการเติบโตที่สูงมากนั่นเอง

Credit >> http://th.wikipedia.org