การใช้ EBITDA และข้อจำกัด

EBITDA วิธีจำความหมายให้ขึ้นใจก็จำเป็นตัวย่อไว้ดังนี้ กำไร(Earning) ก่อน(Before) ดอกเบี้ยจ่าย(Interest) ภาษี(Tax) ค่าเสื่อม(Depreciation) ถ้าดูเผินก็เหมือนกำไรที่มาจากธุรกิจจริงยังไม่แบ่งให้เที่มาของทุน (เจ้าหนี้ เจ้าของทุน) แต่มันลึกกว่านั้นครับ ก็ยกบทความของคุณ green-orange [1] มาให้อ่านกันครับ เชิญอ่านโดยพัน

การนำเอา EBITDA ไปใช้และข้อจำกัด
ต่อ จากบทความที่แล้ว และที่น้องปิ๊กขอมา เป็นแรงบันดาลใจทำให้ผมต้องมานั่งคิดอยู่นานว่าจะเขียนอย่างไรดี แล้วผมจะเขียนให้คนอ่านรู้เรื่องได้ไหมเนี่ย…แต่แล้วผมก็คิดว่าผมจะพยายาม ลองดูครับ เป็นการฝึกฝนตนเองไปด้วย ถ้าผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องอย่างไรก็ขออภัยมา ณ ที่นี้
เริ่มเลยแล้วกัน……

ในการนำเอา EBITDA ไปใช้นั้น ในความคิดส่วนตัว ผมเห็นว่าเราจำเป็นที่จะต้องพิจารณาหลายสิ่งด้วยกันดังนี้
1 หนี้สินต่อทุนและภาระดอกเบี้ยจ่าย
2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)
3 ลักษณะของกิจการ
4 ความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ
5 Utilization Rate

ทีนี้เราลองมาดูทีละประเด็นกันนะครับ ว่าสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญในการพิจารณาอย่างไร

1 หนี้สินต่อทุนและภาระดอกเบี้ย
เหตุผล ที่เราต้องมาพิจารณาหนี้สินต่อทุนและภาระดอกเบี้ยจ่ายประกอบนั้น เนื่องจากว่า EBITDA นั้นเป็นกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจ่าย ซึ่งยังไม่ได้มีการพิจารณาถึงโครงสร้างหนี้สินต่อทุนของกิจการ (หนี้สินในที่นี้หมายถึงหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย) เลยว่าสินทรัพย์ที่ได้มานั้นได้มาจากส่วนไหนในอัตราส่วนเท่าไหร่ เช่น ถ้าหากกิจการ A มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน = 1:1 ส่วน B มีภาระหนี้สินต่อทุน 1:2 และอัตราดอกเบี้ยจ่าย = 5% เท่ากันทั้ง 2 บริษัท นั่นก็จะทำให้เราทราบคร่าวๆว่า บริษัท A นั้นมีความเสี่ยงที่สูงกว่า B ในเรื่องของภาระดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งภาระดอกเบี้ยจ่ายนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้นำไปหักออกจาก EBITDA ซึ่งการดูเฉพาะเรื่องของอัตราหนี้สินต่อทุนก็ยังบอกอะไรเราไม่ได้มากนัก ต้องดูอย่างอื่นประกอบเพิ่มเติม

2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)
ทำไม เราต้องมาดูเรื่องอัตรากำไรจากการดำเนินงานของกิจการกัน (EBIT) สาเหตุก็เนื่องจากถ้า 2 กิจการมี EBIT ที่เท่ากันแต่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนและดอกเบี้ยจ่ายที่แตกต่างกันแล้ว ก็จะทำให้มีผลอย่างมากต่อการพิจารณาลงทุนของนักลงทุนดังที่แสดงในตารางด้าน ล่างซ้ายมือ เราลองมาดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันนะครับ สมมุติว่าทั้ง 2 บริษัทที่มี EBIT เท่ากันที่ 10% ในตอนแรกนั้นมียอดขายลดลง 10% เท่ากันพอดี แต่บริษัท B มีอัตราหนี้สินน้อยกว่า A ที่อัตราดอกเบี้ยจ่าย 5% เท่ากัน สังเกตุว่าบริษัท A เกือบจะขาดทุนแต่บริษัท B ยังพออยู่ได้ ดังแสดงในตารางด้านล่างด้านขวามือ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากว่ารายได้ลดลงมากกว่า 10%??? เพื่อนลองจินตนาการดูเอาเองนะครับ

3 ลักษณะของกิจการ
ที่ นี้เราก็จะมาดูกันนะครับว่าลักษณะของกิจการมันมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องอะไร กับเรื่องนี้กันครับ ผมคิดว่ากิจการที่เราควรจะระมัดระวังก็คือกิจการที่มีต้นทุนคงที่สูงและมี รายได้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่กิจการลักษณะนี้ก็จะต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสูง ซึ่งสินทรัพย์ถาวรเหล่านี้จะใช้เป็นตัวสร้างรายได้หลักของกิจการ และโดยปกติก็จะต้องมีการปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายเป็นค่าเสื่อมราคาที่สูงตามไปด้วย เช่น กิจการโรงแรม โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตสินค้าอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น

4 ความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ
ถาม ว่าข้อนี้แตกต่างอย่างไรกับลักษณะของกิจการในข้อ 3 ผมคิดว่ามีความแตกต่างแน่นอนครับ เพราะลักษณะกิจการบางอย่างเป็นกิจการที่มีความจำเป็นและไม่ค่อยมีความอ่อน ไหวกับภาวะเศรษฐกิจมากนัก ลูกค้าไม่สามารถชะลอการใช้จ่ายได้นานมากนัก ทำให้รายได้มีความสม่ำเสมอและค่อนข้างมั่นคงมากกว่า เพราะเป็นสินค้าปัจจัย 4 เช่น โรงพยาบาล ห้างค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งก็ต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและเครื่องไม้เครื่องมือค่อนข้างเยอะ แต่สิ่งที่แตกต่างกับพวกโรงแรมหรือโรงงานปิโตรเคมีนั้น ค่อนข้างชัดเจนคือ ความสม่ำเสมอของรายได้ และความจำเป็นที่ต้องใช้

5 Utilization Rate
อัน นี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สาเหตุก็เนื่องจากถ้าหากกิจการมีอัตราการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ใกล้จะเต็ม กำลังแล้วนั้น กิจการจะต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรใหม่ซึ่งต้องการเงินลงทุนในปริมาณสูงมาก และจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเสื่อมราคามาลดกำไรลง เพราะกว่าที่สินทรัพย์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้จนถึงจุด คืนทุนได้นั้นก็คงต้องใช้เวลาสักระยะขึ้นอยู่กลับลักษณะของกิจการ

สรุป แล้วในความคิดส่วนตัวของผมนั้น ผมไม่ชอบที่จะใช้ EBITDA ในการประเมินมูลค่าหุ้นมากนัก เนื่องจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายนั้น ผมคิดว่าเป็นค่าใช้จ่ายจริงๆที่เกิดขึ้น แต่ว่ากิจการได้จ่ายเงินสดในการลงทุนในสินทรัยพ์นั้นๆออกไปก่อนแล้ว เพียงแต่ในทางบัญชีอนุญาติให้บริษัทค่อยนำเอาค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาแบ่งหัก ออกเป็นค่าใช้จ่ายตามแต่วิธีที่กิจการเห็นว่าเหมาะสมในการเลือกใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะต้องถูกนำไปใช้ซื้อสินทรัยพย์ใหม่เข้ามาทดแทนของ เก่าที่หมดสภาพลงในอนาคตอยู่ดี แต่ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรจะพิจารณาก็คือระยะเวลาและวิธีการที่ บริษัทเลือกใช้ในการตัดค่าเสื่อมราคานั้นมีความเหมาะสมกับอายุการใช้งานของ สินทรัพย์เหล่านั้นและสอดคล้องกับกลยุทธของบริษัทหรือไม่ และผมเห็นว่าเราควรที่จะนำเอา EBIT ไปใช้มากกว่าในการประเมินมูลค่าหรือวิเคราะห์กิจการ แทนที่จะนำเอา EBITDA ไปใช้ และก็ต้องใช้ประกอบกับอัตราส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น กระแสเงินสดอิสระหลังจากที่ได้ลงทุนในส่วนของการบำรุงรักษาและส่วนของการ เติบโตด้วย เป็นต้น และสุดท้ายคือ EBITDA นั้น ส่วนของ ค่าเสื่อมราคา (D) นั้นมันเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดในวันนี้ที่จะต้องถูกนำไปใช้ทดแทนหรือ ปรับสภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิมหรือดีขึ้นในอนาคตเนื่องจากมี เทคโนโลยี่ใหม่มาทดแทนของเดิมที่อาจจะทำให้สินทรัพย์เดิมล้าสมัยเร็วกว่า เวลาอันควร โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นพวกเทคโนโลยี่หรือแม้กระทั่งธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี่ใน การผลิตที่ใครๆมีเงินก็หาซื้อมาใช้ได้

Credit >> http://www.investidea.in.th/2012/02/ebitda.html