คนสับสนคำว่า Chain เพราะไปแปลตื้นๆว่า"โซ่/ห่วงโซ่".ที่จริงแล้ว Chain ใน Supply Chain Managementแปลว่า "สัมพันธภาพหรือความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน" เช่นเดียวกับการแปล Supply เป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า "อุปทาน" ซึ่งกว้างไป ทั้งที่ใน SCM หมายถึง "วัตถุดิบ ชิ้นส่วน/ปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต/แปรรูป" ดังนั้น Supply Chain ที่ถูก ควรแปลว่า"สัมพันธภาพ/ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ปัจจัยที่จำเป็นในการผลิตแปรรูปหรือการดำเนินธุรกิจ โดยความสัมพันธ์เชื่อมโยงด้านซัพพลายนี้ มีผลต่อประสิทธิภาพ ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และการตอบสนองความต้องการของตลาดของบริษัทหนึ่งๆ
ตัวอย่างน้ำท่วม2554 หลายบริษัทมีปัญหาSupply Chain นั้นก็หมายถึงปัญหาด้านวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือปัจจัยในการทำธุรกิจที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับบริษัท
อย่างเช่นบริษัทรถญี่่ปุ่น ประสบปัญหา Supply Chain อย่างหนักจากน้ำท่วมโรงงานผลิตชิ้นส่วนในไทย ทำให้ขาดวัตถุดิบ ชิ้นส่วนรถยนต์ป้อมโรงงานต่างๆ
หรืออย่างบริษัท computerทั่วโลก ก็ประสบปัญหา Supply Chain จากน้ำท่วมเช่นกัน เนื่่องจากโรงงานผลิต Harddisk ในไทยถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่มีของผลิต
หรือในช่วงที่ของต่างๆตาม Tesco หรือ 7-11 ไม่มี ก็ปัญหาSupply Chainเช่นกัน เนื่องจากโรงงานหรือระบบโลจิสติกส์ถูกน้ำท่วม ทำให้สินค้าขาเข้าไม่มี
สัมพันธภาพหรือความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางด้านซัพพลาย ถ้าเป็นเรื่องที่บริษัทจัดการภายในบริษัทได้เองก็จะเรียกเชิงทฤษฎีว่า "Internal Supply Chain" แต่ถ้าบริษัทต้องไปบริหารสิ่งที่เชื่อมโยงหรือมีปัจจัยความสัมพันธ์กับภายนอก ทีี่มาจากซัพพลายเออร์หรือลูกค้า จะเรียกว่า "External Supply Chain"
การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องซัพพลายซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์ (วัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือปัจจัยที่ป้อนธุรกิจ) จึงถูกเรียกว่า "Supply Chain Management" จำไว้นะครับ..แวดวงคนรู้จริงและผู้บริหารส่วนมากจะทับศัพท์ "Supply Chain Management" ว่า "การจัดการซัพพลายเชน" น้อยคนจะใช้ "การจัดการโซ่อุปทาน" คนไม่รู้ไม่เคยผ่านงานด้านนี้มา แบบว่า "เปิดพจนานุกรมเอา" ถึงจะใช้คำว่า "การจัดการโซ่หรือห่วงโซ่อุปทาน" เมื่อพูดถึง "Supply Chain Management" ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับ Supply Chain Management มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะอิทธิพลของ Global sourcing, Offshore Manufacturing, Business Outsourcing
Global Sourcing เกิดขึ้นเมื่อบริษัท จัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน/สินค้าทดแทนต่างๆ จากต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายให้ดีขึ้น
Offshore Manufacturing เกิดขึ้นเมื่อบริษัทตัดสินใจไปตั้งโรงงานต่างๆในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือสร้างโอกาสในการเจาะตลาดในต่างประเทศ
Business Outsourcing เกิดขึ้นเมื่อบริษัทตัดสินใจให้ บริษัทภายนอกดูแลหรือบริหารจัดการฟังก์ชันสำคัญๆของธุรกิจเช่น Sales, Procurement, Logistics
Best Practices ทั้ง 3 อย่างนี้ แม้ว่าจะทำให้บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจสูงขึ้น แต่ก็ส่งผลอย่างมากต่อการบริหารด้านซัพพลายของธุรกิจ Side Effect หรือผลกระทบกับซัพพลายของการดำเนินการดังกล่าวทั้ง 3 ทำให้บริษัทต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์ภายนอกมากขึ้น เกิด Uncertainty&Risk มากขึ้น การพึ่งพาศักยภาพขีดความสามารถภายนอกมากขึ้น แม้ว่าเกิดผลดีในแง่ประสิทธิภาพ แต่ก็ทำให้บริษัท"depend on"ซัพพลายและซัพพลายเออร์มากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการบริหารด้านซัพพลายในปัจจุบันเปลี่ยนรูปโฉมไปมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตที่เน้นไปแค่เรื่องการจัดซื้อและการผลิตของบริษัท ขบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและโลจิสติกส์ต่างๆ จำเป็นต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อสอดรับกับ Global Sourcing, Biz Outsourcing, and Offshoring ซึ่งการบริหารแบบบูรณาการฟังก์ชันสำคัญทั้งสามนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับธุรกิจ ขณะที่ลด Uncertainty&Risk เราเรียกว่า SCM หรือ Supply Chain Management "จึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่" บนอิทธิพลของ Global Sourcing, Offshore Manufacturing และBusiness Outsourcingนั้นเอง
Credit >> http://www.investidea.in.th/2012/01/supply-chain-management.html