การลงทุนด้วยวิธีนี้ “ต่างจาก” การเก็งกำไรหุ้นอย่างสิ้นเชิง เพราะการเก็งกำไรจะเป็นการหากำไรจากการ “คาดเดา” ทิศทางของราคาเป็นหลักเท่านั้น
ดังนั้น หุ้นที่ดีจึงอาจไม่ใช่หุ้นที่ดีก็ได้ ถ้าหากราคาหุ้นสูงเกินไป
นักลงทุนเอกของโลกที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะไม่ซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเกินกว่าราคาที่พวกเขาคิดว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นตัวนั้น ไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเพียงใด
หุ้นปตท.สผ. ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กำไรโต 5-6 เท่า เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขึ้นมา 100% คนก็จะรีบขายออก แต่ถ้าวัดมูลค่าหุ้นจะพบว่า กำไรของบริษัทจะโตเรื่อยๆ และราคาหุ้นยังไปได้อีก ควรจะถือต่อไปอีก เพราะราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าจริง แต่อย่างหุ้นเรือ ก่อนหน้านั้นค่าพีอี 2-3 เท่า คนก็จะคิดว่าราคาถูก ซึ่งจริงๆแล้ว กำไรบริษัทไม่ได้ต่อเนื่อง ทำให้มีราคาแพง จะเห็นว่า วันนี้ราคาหุ้นร่วงลงมา 40-50% และค่าพีอีสูง ”
ดังนั้นเราจึงต้องมาเรียนรู้การหามูลค่าหุื้้นวิธีต่างๆ หุ้นจากเงินปันผล (Dividend Discount Model) การคิดมูลค่าแบบการใช้ส่วนลดของกระแสเงินสดอิสระ (DCF – Discount Cashflow Model) การวัดมูลค่าหุ้นที่กำลังเติบโต (Growth Stock Valuation) การหามูลค่าหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) รวมทั้ง การหามูลค่าของวอร์แรนท์ (Warrant)
แต่วิธีการที่ดีที่สุดในมุมมองของเขา ก็คือ โมเดลคิดมูลค่าหุ้นแบบการใช้ “ส่วนลดของกระแสเงินสดอิสระ” (DCF – Discount Cashflow Model) เพราะเป็นวิธีที่คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อมูลค่าหุ้นไว้อย่างครบถ้วน
วิธีวัดมูลค่าแบบนี้จะเป็นการตีมูลค่าบริษัทจาก “กระแสเงินสดอิสระของบริษัท”
ค่าของบริษัทจะขึ้นอยู่กับการสร้างกระแสเงินสด โดยผู้ลงทุนจะต้องประมาณการกระแสเงินสดของบริษัท หักด้วยต้นทุน จะเท่ากับมูลค่า เมื่อนำมาเทียบกับราคาหุ้นในตลาด ถ้ามูลค่าหุ้นมากกว่าราคา ก็ควรซื้อและถือไว้ โดยยึดหลักว่า ให้ซื้อคุณค่าของกิจการ ไม่ต้องสนใจราคาหุ้นในตลาด
“หุ้นของบริษัทจะมีค่า ก็ต่อเมื่อบริษัทสามารถผลิตเงินสดได้ แม้ว่าจะมีกำไรมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถสร้างเงินสดได้ หุ้นบริษัทนั้นก็จะไม่มีค่าใดสำหรับนักลงทุนเลย”
แม้วิธีวัดมูลค่าแบบ DCF จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่เหมาะกับการวัดมูลค่าในธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้แยกไม่ออกระหว่างกระแสเงินสดของบริษัทกับสินค้าของบริษัท
อย่างไรก็ตาม การหาดูค่า P/E , P/BV ก็มีประโยชน์ เหมือนเป็น “ตะแกรงร่อนหุ้น” ชั้นแรกได้
“หุ้นบางตัวทำให้เราตัดทิ้งไปได้เลย แต่ตัวไหนที่คิดจะซื้อจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วผมจะทำ DCF เสมอในขั้นตอนสุดท้าย เพราะต้องคิดเสมอว่า ถ้าเราต้องถือหุ้นตัวนี้ตลอดไปแม้ภาวะตลาดไม่ดี เงินปันผลในอนาคตที่เราจะได้ ก็คุ้มกับเงินลงทุนของเราด้วย”
การวัดมูลค่าหุ้นว่า อย่าละทิ้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพราะทั้งสองอย่างต้องประกอบกัน ห้ามนำผลประกอบการในอดีตมาตั้งสมมติฐานว่า ผลประกอบการในอนาคตจะแนวโน้มเดียวกันกับอดีต ต้องพยายามศึกษาด้วยว่า บริษัทกำลังมีแผนงานอะไรบ้างในอนาคต เพื่อให้รู้ว่าอนาคตจะแตกต่างจากอดีตแค่ไหน
ส่วนเคล็ดลับในการวัดมูลค่าหุ้นให้ประสบสำเร็จนั้น ต้องทำการบ้านมาก่อน เพราะนอกเหนือจากวิธีวัดมูลค่าหุ้นที่แท้จริงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของนักลงทุนในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคตของบริษัทได้ใกล้เคียงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงด้วย
“นักลงทุนต้องรวบรวมข้อมูลบริษัทก่อนที่จะนำมาประเมินมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้บริหาร ธุรกิจบริษัท ผลกำไร แผนการลงทุนในอนาคต เพื่อให้เห็นภาพของบริษัทเบื้องต้นก่อน”
วัดมูลค่าหุ้น อาจเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งก็ได้ ต้องมีsafty factor ทุกครั้งป้องกันความเสี่ยงสัก 2 เท่า ยิ่งมากยิ่งดี
“อย่าซื้อหุ้นที่ราคาเท่ากับมูลค่าหุ้นพอดี เพราะนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น รวมถึงเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการคลาดเคลื่อนในการวัดมูลค่าหรือเหตุการณ์ร้ายในอนาคตที่บริษัทคาดไม่ถึง นักลงทุนจึงควรลงทุนราคาในกระดานต่ำกว่ามูลค่าพอควร”
สุดท้าย ห้า..มั่นใจในตัวเอง ถ้าพบว่ามูลค่าหุ้นที่วัดได้ต่ำกว่าราคาในกระดานอย่างมาก นักลงทุนควรมั่นใจในราคานั้น อย่ากลัวที่ทำอะไรไม่เหมือนคนส่วนใหญ่
ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของนรินทร์ มีอยู่เพียง 3-4บริษัท โดยเขาจะซื้อเฉพาะหุ้นที่สามารถมองแนวโน้มการเติบโต 3-5 ปีได้ ซึ่งมีอยู่ไม่มากในตลาดแต่ไม่ใช่ปัญหา
“ผมถือคติในตลาดมีหุ้น 500 ตัว เราสนใจแค่ 10 ตัวก็รวยได้เหมือนกัน ถ้าเราทุ่มเทใช้เวลาศึกษาหุ้น 10 ตัวให้รู้ลึกซึ้งกว่าคนอื่น ผมมีหุ้นในพอร์ตแค่ 3-4 ตัวเท่านั้น และมีหุ้นที่ติดตามอยู่แต่ยังไม่ซื้อเพราะราคาแพงเกินไปอีกประมาณไม่เกิน 10 ตัว หุ้นที่มีประวัติไม่ดีผมไม่เคยมองเลย”
สุมาอี้ บอกว่า เป้าหมายผลตอบแทนของเขาจะอยู่ราว 15% ต่อปี จะไม่เน้นกำไรมาก แต่เน้นรักษากำไรให้ได้ทุกปี การไม่ซื้อของแพงช่วยทำให้ไม่เคยขาดทุนหนักๆ ผลตอบแทนในระยะยาวอาจจะดีกว่าคนที่หวังกำไรอย่าง aggressive ซึ่งที่ผ่านมากำไรเกินเป้า 15% ทุกปี แต่ถือว่าส่วนที่เกินมาเป็นเสบียง เพราะในอนาคตจะต้องมีปีที่เราทำผลงานได้ไม่ดีด้วย
ฉะนั้น กฎในการลงทุน จึงต้องซื้อหุ้นต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมด ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายก็ยังได้กำไร อย่าเทรดหุ้นทุกวัน ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด
ควรเน้นหุ้นเติบโตสูง จะเป็นหุ้นที่น่าลงทุนมากกว่า เพราะแม้ downside จะสูงถึง 100% แต่ upside ไม่มีขีดจำกัด เพราะพอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆตัว แม้จะผันผวนมากแต่จะวิ่งไกลกว่าพอร์ตหุ้นที่เต็มไปด้วยบลูชิพในระยะยาวๆ
Credit >> www.srangsookjai.com