ข้อมูลสำหรับนักลงทุน VI

ข้อมูลสำหรับนักลงทุน  Vi นะครับ สำหรับจะหาหุ้นสักตัว หาราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ

P/E
P/BV
PEG
Discount cash flow
Net free cash flow
Net Asset Value
1. มีจุดดีและจุดด้อยอย่างไร
2. เหมาะที่จะประยุกต์ใช้กับบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมใดอย่างไร
ขอขอบคุณ ล่วงหน้าครับ

เป็นคำถามที่ดีครับ

P/E ข้อดีคือวิเคราะห์ไม่ยาก ข้อเสียคือ การใช้ P/E อาจพลาดได้เพราะบริษัทอาจจะมีรายได้หรือรายจ่ายรายการพิเศษแต่ก็แก้ไม่ยาก ด้วยการตัดออก ข้อเสียอีกอย่างคือ P/E ไม่ได้สะท้อนนโยบายทางบัญชีที่ต่างกันเช่น ค่าเสื่อมราคา รวมทั้งไม่ได้สะท้อนถึง Capital expenditure cycle เช่น หุ้นที่เพิ่งตั้งโรงงานกับหุ้นอีกตัวที่เครื่องจักรกำลังหมดอายุไม่ควรมี P/E เท่ากันครับ รวมทั้งไม่ได้สะท้อนถึงหนี้และเงินสดในมือบริษัท บริษัทที่มีเงินสดเหลือเฟือกับบริษัทที่หนี้ท่วม หากปัจจัยที่เหลือเหมือนกันหมดก็ไม่ควร P/E เท่ากันครับ

P/BV ข้อดีคือเป็นตัวบอก downside risk ของหุ้นว่ามีแค่ไหน หุ้นที่ P/BV ต่ำๆ ก็มีความปลอดภัยในการลงทุนสูงกว่าหุ้นที่ P/BV สูงมากๆ แต่ข้อเสียคือ P/BV ไม่ได้บอกถึงความสามารถในการทำกำไร หรือ ROE ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารและวัฒนธรรมที่ดีหรือแย่ขององค์กร รวมทั้ง BV ไม่ได้สะท้อนถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น แบรนด์เนม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสินค้า หรือลิขสิทธ์ต่างๆ ได้ รวมทั้ง P/BV เป็นการมองอดีต ไม่ได้มองถึงอนาคต ยกตัวอย่างเช่น มีชายคนนึงได้เงินมา 50 ล้าน แต่ใช้เงินฟุ่มเฟือยและไม่พยายามที่จะหาเงินเพิ่ม ใน 5 ปีข้างหน้าชายคนนี้อาจจะจนกได้ ในทางตรงกันข้าม ชายคนหนึ่งมีหนี้ที่ต้องแบกรับให้ครอบครับ 10 ล้าน แต่หากเป็นคนที่มีความรู้ มีความมานะพยายาม มีความใฝ่ดี ซื่อสัตย์ ใน 5 ปีข้างหน้าก็อาจจะเป็นเศรษฐีได้ ดังนั้น คุณจะซื้อหุ้นที่ BV สูงๆ แต่นับวันมีแต่แย่ลงหรือ P/BV สมเหตุสมผลหรือมีอนาคตล่ะครับ

PEG เป็นการวัดว่า P/E ของหุ้นตัวนั้นต่ำหรือสูงไปโดยพิจารณาประกอบกับการเติบโต ข้อดีคือใช้ง่าย ข้อเสียคือการ forecast growth ก็เป็นสิ่งที่ทำยากและโอกาสผิดสูง รวมทั้งการใช้ PEG ไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงของหุ้น หุ้น 2 ตัวที่ growth เท่ากัน ตัวที่เสี่ยงมากกว่าควรมี P/E ต่ำกว่าครับ

Discount cash flow เป็นการวิเคราะห์ที่น่าจะดีที่สุด เพราะเป็นการปิดจุดด้อยของทุกๆ valuation เนื่องจากเป็นการประมาณการกระแสเงินสดในปัจจุบันและอนาคต และหักด้วยหนี้ซึ่งหมายถึงการพิจารณาอดีต ดังนั้นจะชดเชยข้อด้อยต่างๆ ของวิธี valuation ที่เอ่ยมาแล้วทั้งนั้น ได้แก่

- ใช้ free cash flow ดังนั้นนโยบายค่าเสื่อมราคาไม่มีผล และมีการนำรายจ่ายในการลงทุนมาหักออกด้วย
- มีการบวกด้วยเงินสด เงินลงทุนและหักด้วยหนี้ในตอนท้าย เป็นการสะท้อนถึงอดีตด้วย
- มูลค่ากิจการขึ้นกับกระแสเงินสดในอนาคต และมูลค่า terminate value ดังนั้นอนาคตมีความสำคัญไม่น้อยกว่าอดีต
- การทำ discount cash flow ใช้ discount rate มากน้อยตามความเสี่ยง ดังนั้นมีการนำความเสี่ยงของธุรกิจมาคิดด้วย

ยกตัวอย่างง่ายๆ หากมีครอบครัวหนึ่ง สมมุติหัวโบราณหน่อยนะครับ มีลูกสาวคนหนึ่งและมีชายมาสู่ขอหลายคน และพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจเลือกลูกเขยให้ลูกสาวของตนเอง สมมุติว่าลูกเขยทุกคนมีนิสัยดีใกล้เคียงกัน พ่อแม่หลายคนอาจจะเลือกคนที่คิดว่าน่าจะดูแลลูกสาวได้ดีที่สุด คือน่าจะเงินให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย อาจจะเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างจะวัตถุนิยมนะครับแต่คิดว่าเข้าใจง่ายสุด

หาก พ่อแม่พิจารณาเลือกลูกเขยจากสินทรัพย์ปัจจุบันเป็นหลักโดยที่ไม่ได้สนใจความ สามารถของลูกเคยที่จะมีผลต่อรายได้ในอนาคตหรือนิสัยการใช้จ่ายที่จะสะท้อน การใช้จ่ายในอนาคต แสดงว่าพ่อแม่คู่นั้นวิเคราะห์โดยใช้ P/BV เป็นหลัก

แต่ หากพ่อแม่พิจารณาโดยดูรายได้ในปัจจุบันของลูกเขยเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ พิจารณาถึงสินทรัพย์หรือหนี้สินในอนาคต หรือระยะเวลาการหารายได้ หรือความเสี่ยงของงานที่ลูกเขยทำ หรือนิสัยที่อาจจทำให้เสียรายได้ในอนาคต เช่น รายได้เดือนละ 5 แสนแต่มีหนี้ที่ต้องจ่ายถึง 15 ล้าน รายได้ของลูกเขยเดือนละ 5 แสนบาท แต่มีอาชีพเป็นนักกีฬาที่มีระยะเวลาการได้เงินเดือนสูงไม่นานนัก หรือเงินเดือนสูงมากแต่อาชีพที่ต้องมีความเสี่ยงสูง หรือรายได้สูงแต่ชอบเล่นการพนัน แสดงว่าพ่อแม่คู่นี้วิเคราะห์โดยใช้ P/E เป็นหลัก

หากพ่อแม่พิจารณาทุกองค์ประกอบรวมกัน คือสินทรัพย์หรือหนี้สินในปัจจุบัน รายได้ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ระยะเวลาการหารายได้ ความเสี่ยงของงานที่ทำ ก็แสดงว่าพ่อแม่คู่นี้วิเคราะห์โดยใช้ Discount cash flow เป็นหลักครับ

แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์แบบ discount cash flow จะไม่มีวันพลาดนะครับ เพราะการใช้ discount cash flow คือการทำนายอนาคต ซึ่งต้องอาศัยสมมุติฐานหลายอย่างมาก ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวธุรกิจและตัวบริษัทมากในระดับ หนึ่ง และข้อมูลปลีกย่อยหลายอย่างเช่น อายุเครื่องจักร ภาระการลงทุนในอนาคต รวมทั้งควรจะมีการประเมิน corporate governance ของหุ้นด้วย ดังนั้นการมองอะไรที่ยาวๆ ก็มีโอกาสผิดสูงครับ

ดังนั้นผมจึงไม่ได้ ยึดติดการ valuation method อะไรเป็นหลักครับ อาจจะยึด dcf มากที่สุดแต่ก็จะพิจารณาถึง P/E P/BV EV/EBITDA ประกอบด้วย และที่สำคัญที่สุดคือการพิจารณาผู้บริหารครับ หากทุก valuation ดีหมด แต่ผู้บริหารผมทราบว่า corporate governance แย่ ผมอาจจะต้องขอซื้อหุ้นตัวนี้ที่ discount มากๆ หรือไม่ซื้อเลยก็ได้ครับ เพราะอาจจะมีอะไรที่เป็นการ destroy value ของหุ้นได้ในอนาคต ในทางตรงกันข้าม หากผู้บริหารดีมาก ผมก็ยอมจ่าย premium ครับ ซึ่งการ value ผู้บริหารเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องอาศัยการอ่านและติดตามข้อมูล เป็นอย่างมาก

Credit >> http://www.srangsookjai.com