EV/EBITDA

EV/EBITDA

คือยังงี้นะครับ พยายามมองค่าตัวเลขต่างๆให้เป็นแบบพ่อค้าหรือนักธุรกิจมอง อย่ามองเป็นนักบัญชีหรือนักคณิตศาสตร์ครับ

EV/EBITDA คืออัตราส่วนทางการเงินอย่างนึง ที่เกิดจาก

EV หรือ Enterprise value แปลว่าส่วนของเจ้าของ(คล้ายๆกับ equity นั่นแหละครับ แต่เป็น equity ที่ราคาตลาดเลย) ถ้าคุณ จขกท อยากจะ take over สักบริษัทนึง ผมสมมติ AOT
ผมก็ต้องซื้อหุ้น AOT ให้ครบ 100% หรือพูดง่ายๆว่า ราคาหุ้นxจำนวนหุ้น ก็คือ market cap นั่นแหละครับ. ซึ่ง AOT market cap ประมาณ 80,000ล้าน
คราวนี้ผม take over บริษัทได้ ผมก็ได้ทุกอย่างของบริษัทแหละครับ ทั้งเงินสด ลานบิน รวมทั้งหนี้สินด้วย
ดังนั้นผมก็ต้องมาจ่ายหนี้ให้บริษัทด้วย เช่น AOT มีหนี้ 70,000 ล้าน market cap 80,000ล้าน พอผมใช้เงิน 80,000ล้านซื้อบริษัทแล้ว ผมก็ต้องจ่ายอีก 70,000 เพื่อใช้หนี้ให้บริษัทด้วย สรุปผมต้องจ่ายเงิน 150,000ล้านเพื่อซื้อ AOT

แต่เดี๋ยวก่อน AOT มีเงินในบริษัทราวๆ 20,000 ล้าน ถ้าผมได้บริษัทนี้ผมก็สามารถเอาเงินสดทั้งก้อนไปช่วยจ่ายหนี้ได้ หรือจ่ายแค่ 130,000ล้าน

สรุปง่ายๆว่า EV คือเงินที่ผมต้องจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของจริงๆ


คราวนี้มาดู EBITDA หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมต่างๆ ประเด็นหลักของ EBITDA คือเรื่องค่าเสื่อม ซึ่งบริษัทที่มีทรัพย์สินเป็นอาคารเป็นส่วนใหญ่จะมีการตัดค่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่าเสื่อมไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ใช้จริงๆ เพราะเงินทุกบาทที่ตัดค่าเสื่อมยังอยู่ในมือเรา(ถ้าสนใจลองศึกษาเรื่องค่าเสื่อมดูนะครับ)

*** แต่ตรงนี้บางคนก็แย้งว่า ค่่าเสื่อมก็ต้องตัดสิ เพราะพอมันพังเราก็ต้องซื้อใหม่
แต่บางคนบอกว่า ตอนเราซื้อเราก็จ่ายเงินไปแล้ว แล้วมาตัดค่าเสื่อมอีกก็เหมือนหักรายจ่ายซ้ำซ้อน ***

แล้วบริษัทแบบไหนที่เราต้องสนใจค่าเสื่อม ก็เช่น CPN, BGH, AOT หรือแม้กระทั่ง DTAC กับ ADVANC ซึ่งทั้ง DTAC และ ADVANC ตัดค่าเสื่อมปีละหมื่นล้าน AOT ก็ปีละ 4,000 ล้าน ทำให้พอได้กำไรขั้นต้นออกมา ก็ต้องมาหักค่าเสื่อมก่อนถึงจะออกมาเป็นกำไรสุทธิ แต่เงินที่หักออกไปก็ไม่ได้หายไปไหน อยู่ในบริษัทนั่นแหละ
(จริงๆสำหรับเจ้าของกิจการค่าเสื่อมถือได้ว่าเป็น tax shield อย่างนึง เพราะเอาไปลดภาษีได้ครับ)
แต่บางบริษัทเราก็ไม่ได้สนใจค่าเสื่อมมากนัก เช่น CPALL เพราะถึงแม้จะมี 7-11 อยู่ถึง 6,000กว่าสาขา ปต่ตัดค่าเสื่อมจริงๆแค่สาขาละไม่กี่แสน ผมจำตัวเลขได้ไม่แม่นแต่รู้สึกทั้งปีจะตัดค่าเสื่อมราวๆ 400ล้าน(ไม่ชัวร์ตัวเลขนะครับ)
หรืออย่าง BLA ที่ขายประกันชีวิต ไม่ค่อยมีสาขาเท่าไหร่ อุปกรณ์ก็ไม่ค่อยมีอะไร อาคารแค่ไม่กี่ร้อยล้าน เทียบกับรายได้เป็นหมื่นล้านก็แกล้งๆทำไปไม่เห็นก็ได้ครับ

ดังนั้น EBITDA คือกำไรก่อนหักหลายๆอย่างเพื่อดูความสามารถในการทำกำไรแบบเน้นๆครับ(ไม่เอาภาษีมาคิดเพราะบางที่เสียน้อยเสียมาก บางที่เข้ามาใหม่ไม่เสียภาษี หรือบางบริษัทกู้มาแพงกู้มาถูก)

ดังนั้นเมื่อเอา EV/EBITDA จะดูเหมือน P/E ครับแต่ใช้ factor หลายตัวเข้ามามากขึ้นอย่างที่บอกข้างต้น

เช่น AOT เมื่อกี้ ที่ผมซื้อได้ที่ 130,000ล้าน ตัวนี้กำไรปีละแค่ 2,500ล้าน ถ้าดูแค่นี้ก็ไม่น่าซื้อแล้วครับ take over ไปอีกกี่ชาติก็ไม่รู้จะคืนทุน
แต่ถ้าดูที่ EBITDA ก็จะเห็นว่าสูงถึง 16,000 ล้าน เรียกว่าไม่ถึง 10 ปีก็คืนทุนได้(130,000/16,000 <10) แล้วนี่ยังไม่นับที่จะมีผู้โดยสารมากขึ้นอีกทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นอีก แถมมี DCA ด้วย อืม คุ้มๆ

ดังนั้น EV/EBITDAใช้ประมาณ PE ครับ(ย้ำอีกที) แต่จะใช้ตัวไหนก็ต้องดูครับ ถ้าตัวไหนค่าเสื่อมมันมากๆ มันจะบดบังกำไรเราเหลือนิดเดียวทำให้เรามองว่ามันไม่คุ้ม แต่พอดูเงินที่บริษัทได้จริงๆอาจจะคุ้มแสนคุ้มก็ได้ครับ

หรือบางคนอาจจะบอกว่า "เอ๊ะ!!! ดอกเบี้ยกับภาษีมันต้องจ่ายนะ มันคนละเรื่องกับค่าเสื่อม" จะใช้เป็น EBDA โดยหักภาษีกับดอกเบี้ยออกก็ได้ครับ โดยส่วนตัวผมชอบใช้แบบนี้มากกว่า เพราะคิดว่ามันเป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายออกไปจริงๆ

ส่วนใครจะคิดว่าค่าเสื่อมพอมันหมดก็ต้องซื้อใหม่ หักไปก็ถูกแล้ว จะกลับไปใช้ที่ PE ก็ได้ แต่ถ้าใครมองอีกอย่างจะใช้ EBITDA, EBIT หรือ EBDA ก็ได้

Credit >> http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenpluss&month=04-2012&date=27&group=30&gblog=48