สรุปสิ่งที่ต้องเข้าใจสำหรับงบกระแสเงินสด

สรุปสิ่งที่ต้องเข้าใจสำหรับงบกระแสเงินสด

กระแสเงินสดในงบฯ เป็นผลรวมของตัวเลข 3 ส่วน (ซึ่งเมื่อจับรวมเข้าด้วยกัน จะทำให้ได้ยอดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดสุทธิ) คือ
ก) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน
เป็นตัวเลขของเงินสดของบริษัทที่ได้มาจากการดำเนินธุรกิจหลักของตัวเอง ส่วนนี้เราจะตั้งต้นด้วยกำไรสุทธิแล้วบวกกลับเข้าไปด้วยค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (ซึ่งตัวเลขสองตัวนี้ ไม่ได้เป็นเงินสดจริงๆ ที่บริษัทจ่ายออกไปในงวดงบการเงินนั้น แต่กลับถูกหักออกจากผลกำไร ก่อนที่จะคิดเป็นกำไรสุทธิ - จริงๆ แล้วบริษัทได้จ่ายเงินสดออกไปเพื่อการซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ ไปก่อนแล้วล่วงหน้า)
ข) กระแสเงินสดจาก (ที่ใช้ไป) กิจกรรมการลงทุน
จะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน (Capital Expenditures) ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขที่จะติดลบเสมอ จะเขียนในวงเล็บแสดงถึงการจ่ายออกไปทำให้จำนวนเงินสดในมือลดลง และอีกส่วนคือกระแสเงินสดจากการลงทุนอื่นๆ ซึ่งเป็นการรวมกันของเงินสดทุกรายการที่เข้าและออกจากบริษัทในการซื้อขายสินค้าที่ทำให้เกิดกำไร ตัวเลขนี้อาจจะเป็นบวกหรือลบก็ได้ หากเงินเข้ามากกว่าเงินออกในงวดบัญชีนั้นก็จะเป็นบวก หากเงินออกมากกว่าเงินเข้าในงวดบัญชีนั้นก็จะเป็นลบ ทั้งนี้ไม่ได้สนใจว่าการลงทุนนั้นจะได้กำไรหรือเปล่า
ค) กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
ตัวเลขภายใต้รายการนี้ แสดงถึงจำนวนเงินสดที่ไหลเข้าหรือออก(อะไรมากกว่ากัน) จากกิจกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะกู้เงินเข้ามา จ่ายเงินออกไปด้วยประการใดๆ ก็ตาม เช่นจ่ายเงินปันผล (เงินไหลออก) ซื้อขายหุ้น (เงินไหลเข้า) หรือซื้อหุ้นคืน (เงินไหลออก) ของบริษัท ขายหุ้นกู้ (เงินไหลเข้า) ไถ่ถอนหุ้นกู้ (เงินไหลออก) เป็นต้น ตัวเลขส่วนนี้สุดท้ายแล้วอาจจะเป็น บวก หรือ ลบ ก็แล้วแต่ว่าเงินสดไหลเข้าหรือออกมากกว่ากัน

สิ่งที่ต้องดูในงบกระแสเงินสด

1) ธุรกิจที่มีความแข่งขันอย่างยั่งยืน ไม่ควรจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน (Capital Expenditures) มากเกินกว่า 30% ของกำไร และต้องไม่ลงทุนบ่อยๆ ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยง
2) ดูว่าบริษัทมีการซื้อหุ้นคืนหรือไม่ การซื้อหุ้นคืนเป็นวิธีการในการเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้นที่ยังเหลืออยู่ในตลาด (Outstanding shares) คือสามารถเพิ่ม EPS ได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มกำไรจริงๆ และบริษัทที่จะสามารถทำเช่นนั้นได้จะต้องมีเงินสดในมือ
3) ระวังพวกบริษัทที่ออกวอร์แร้นท์หรือเพิ่มทุนบ่อยๆ ถ้าการเพิ่มทุน ไม่สามารถจะนำไปทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริงแล้ว จะเกิดความเสี่ยงเป็นอย่างมากต่อมูลคาของหุ้นที่เราถืออยู่

ตอนที่ 44 (16 มี.ค. 54)

จากงบการเงินทั้งหมด เราสามารถประเมินงบการเงินโดยรวม เพื่อมองหาบริษัทที่สามารถแขงขันได้อย่างยั่งยืน และมีความทนทานต่อการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดและเศรษฐกิจได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาในรูปของงบการเงินเป็นเครื่องยืนยัน

Credit >> http://muegao.blogspot.com